วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16 
ความรู้ที่ได้รับ
                

      เนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ของการส่งงานและจัดนิทรรศการแต่ด้วยดิฉันมีความจำเป็นต้องกลับต่างจังหวัดในสัปดาห์นี้จึงไม่ได้ส่งงานและตามส่งในสัปดาห์ต่อมาค่ะ






                                   บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15


ความรู้ที่ได้รับ


    # สัปดาห์นี้งดคลาส ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ให้เคลียร์งานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อนำมาส่งในสัปดาห์ต่อไปพร้อมทั้งจัดนิทรรศการผลงานศิลปะรวมงานทุกอย่างที่ทำตั้งแต่ต้นเทอม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
ความรู้ที่ได้รับ



         เนื่องจากวันนี้เป็นวันสอบสอนของกลุ่มที่ 2 ดิฉันสอบสอนเป็นกลุ่มแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน ถึงไม่ได้เข้าและหยุดทำงานที่ได้รับมอบหมายค่ะ

                         


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
ความรู้ที่ได้รับ

              วันนี้เป็นวันที่นัดหมายในการสอบสอนกลุ่ม แรก ดิฉันสอบสอนเป็นลำดับที่ 7  สอนเกี่ยวกับหน่วย สัตว์ 










บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
ความรู้ที่ได้รับ

               

 สัปดาห์นี้ดิฉันไม่ได้มาเข้าเรียนเนื่องจากติดธุระกับทางบ้าน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


ความรู้ที่ได้รับ


     วันนี้อาจารย์ได้ตรวจงานศิลปะด้วยสีเทียนและศิลปะด้วยสีน้ำ พร้อมส่งแผนการสอนและอาจารย์ได้นัดวันสอบสอนกับนักศึกษาจากแผนที่เขียนและ เลือกมา ๅ แผน เพื่อสอบ โดยมีกำหนดการดังนี้


     สอบสอนกลุ่มที่ 1 วันที่ 11 เมษายนสอบสอนและกลุ่มที่ 2 วันที่ 18 เมษายนโดยนักศึกษาสามารถเลือกวันที่สะดวกและลงชื่อพร้อมเวลาขอแต่ละคนอย่างชัดเจน






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 




สัปดาห์นี้ งดคลาส ไม่มีการเรียนการสอน เพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายให้แล้วเสร็จและส่งภายในวันเวลาที่กำหนด


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
ความรู้ที่ได้รับ

               สัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับงานกระดาษ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 

ความรู้ที่ได้รับ

               
สัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการปั้นดิน ดินน้ำมัน ทำแป้งโดว์ ปั้นแป้งโดว์และร้อยสร้อยจากเส้นมักโรนี และยังได้ลงมือปฎิบัติจริงในการทำแป้งโดว์ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น ดังนี้

วัสดุอุปกรณ์
1.แป้งสาลี
2.เกลือ
3.น้ำมันพืช
4.สีผสมอาหาร

ขั้นตอนการทำ
     นำแป้งและเกลือผสมเข้าด้วยกันจนเข้าที่หลังจากนั้นใส่น้ำมันลงไปนวดต่อจนเป็นเนื้อเดียวกัน
หลังจากนั้นแบ่งแป้งเพื่อจะนำมาผสมกับสีผสมอาหารที่เตรียมไว้ตามต้องการเมื่อผสมสีผสมอาหารแล้วให้นวดอีกครั้งจนเข้ากัน

 



 

แบบร้อนหรือแบบเปียก



การผสมสีเพื่อทำสร้อยและกำไรจากเส้นมะกะโรนี










การปั้นดินเหนียว




ปั้นดินน้ำมันใส่ตลับแผ่นซีดี


                                                            เพ้นหิน เพ้นหอย






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 

ความรู้ที่ได้รับ

                      สัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้สีน้ำซึ่งสัปดาห์นี้มีกิจกรรมเกี่ยวกับ
สีน้ำมากมายดังนี้
รูปภาพการทำกิจกรรม









บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
ความรู้ที่ได้รับ 

                       สัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้สีเทียนซึ่งอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับสีเทียนซึ่งมีทั้งงานเดี่ยว และ งานกลุ่ม ดังนี้
งานเดี่ยว






งานกลุ่ม






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
ความรู้ที่ได้รับ


วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ

วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว ฯลฯ
วัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก 
        หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม   คม แตกหักง่าย  ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี  หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง  หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก

        กระดาษวาดเขียน  ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ที่เรียกเป็นปอนด์ มี 60  80  100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูป ระบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก
       กระดาษโปสเตอร์  มีทั้งชนิดหน้าเดียว และสองหน้า ทั้งหนาและบาง สีสดใส หลากสี ราคาค่อนข้างแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก
       กระดาษมันปู  เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ

สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ สีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก
สีเทียน

       สีเทียน ( Caryon )  คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้ง    แล้วทำเป็นแท่ง มีหลายสีหลายขนาด สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป  สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี เมื่อนำมาใช้จะได้สีอ่อนๆ ใสๆ ไม่ชัดเจน มีเทียนไขเกาะกระดาษหนา ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย หากซื้อเป็นกล่องควรเปิดดูที่มีสีสดๆ สีเข้มๆมากกว่าสีอ่อนๆ  
สีชอกล์กเทียน

      
สีชอล์กเทียน (oil pasteal)  เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา โดยทั่วไปคล้ายสีเทียน เป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมันหรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา เมื่อระบายด้วยสีชนิดนี้แล้ว สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆ และมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก

    กาว ที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว เรียกว่าแป้งเปียกราคาถูก ใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆ  ไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้น ล้างออกง่าย นอกจากนี้ยังมี กาวน้ำ และ กาวลาเท็กซ์ ส่วนกาวถาวร หรือนิยมเรียกกันว่า กาวตราช้าง หรือกาวร้อน มักใช้ติดงานที่ต้องการความติดแน่นคงทน หากติดมือจะล้างออกยากมากต้องแช่และล้างในน้ำอุ่น เหมาะสำหรับผู้ใหญ่

บันทีกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 



ความรู้ที่ได้รับ


                วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยหยุดเนื่องจากปัญหา ฝุ่นPM2.5 เกินขนาดมาตราฐานจึงประการหยุดอย่างเป็นทางการ ดังนี้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 
ความรู้ที่ได้รับ


     วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ ทฤษฎีพัฒนาการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้

ทฤษฎีของทอร์แรน (แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์)     เสนอแนวคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่นและความคิดริเริ่ม
แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ 5 ขั้น-ค้นพบความจริง หาสาเหตุ คิดค้น หาข้อมูล- ค้นพบปัญหา หาว่าอะไรคือต้นตอของปัญหา 
-ตั้งสมมติฐาน หาวิธีแก้ หาทางออก
-ค้นพบคำตอบ หาวิธีการแก้จากสมมติฐาน
-ยอมรับผลจากการค้นพบ

ทฤษฎีของการ์ดเนอร์     ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา 9 ด้าน ได้แก่ ภาษา ดนตรี กีฬาการควบคุมร่างกาย มนุษยสัมพันธ์ ธรรมชาติศึกษา พลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา ตรรกวิทยาคณิตศาสตร์ มิติสัมพันธ์ และจิตวิเคราะห์


ทฤษฎีโอตา
     ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวทุกคนสามารถพัฒนาได้ขั้น 1 ตระหนัก : ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน 
ขั้น 2 ความเข้าใจมีความรู้อย่างลึกซึ้ง
ขั้น 3 เทคนิคขั้น 4 ตระหนักในความจริง

ทฤษฎีของกิลฟอร์ด
     เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวประกอบของสติปัญญา
      เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
      ความมีเหตุผล
      การแก้ปัญหา

พัฒนาการร่างกาย  
ด้านการคิด 3 - 4 ปี ตัดเป็นชิ้นส่วนได้ 4 - 5 ปี ตัดเป็นเส้นตรง5 - 6 ปี ตัดเป็นเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆได้
 ด้านการเขียน     3 - 4 ปี วงกลม     4 - 5 ปี สี่เหลี่ยม     5 - 6 ปี สามเหลี่ยม ด้านการพับ     3 - 4 ปี พับและรีด 2 ทบได้  4 - 5 ปี พับและรีด 3 ทบได้     5 - 6 ปี พับและรีดได้อย่างคล่องแคล่ว หลากหลายแบบ ด้านการวาด 3 - 4 ปี หัว  ตา ขา ปาก 4 - 5 ปี หัว ตา ปาก จมูก ร่างกาย เท้า     5 - 6 ปี 

     หลังจากนั้นอาจารย์ให้นำงานอาทิตย์ที่แล้วทั้ง 6 ชิ้นมาจัดแสดงผลงานบนกระดานหน้าห้อง


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 

ความรู้ที่ได้รับ


          วันนี้เรียนโดยมีเนื้อหาบทเรียนจาก  ที่อาจารย์เตรียมมาในPower Poin เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย มีหัวข้อดังนี้

ศิลปะ หมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วย ความประณีต  วิจิตรบรรจง ฉะนั้น  งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
 ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
          - เด็กชอบวาดรูป  ขีดๆเขียนๆ
          - เด็กมีความคิด  จินตนาการ
          - เด็กใช้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ที่บางครั้งไม่สามารถ พูด อธิบายได้
          - เด็กต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่
          - เด็กต้องการกำลังใจ การสร้างความเชื่อมั่น และความภาคภูมิใจ



  หลังจากจบ power point   อาจารย์ให้พวกเราทำกิจกรรมโดยจะมีกิจกรรมวาดรูปและตกแต่งให้สวยงาม
    วาดภาพตนเองตามจินตนาการ



    วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้


 วาดภาพจากหัวข้อ "มือน้อยสร้างสรรค์"


วาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง

วาดโครงสร้างรูปร่างสัตว์ที่ชอบ 1 ชนิดและออกแบบลวดลายตามจินตนาการ